https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
ประเด็นเรื่องการบริหาร “คน” ในปี 2021 ที่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรให้ความสำคัญ
กลับš


'ประเด็นเรื่องการบริหาร “คน” ในปี 2021 ที่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรให้ความสำคัญ'


ดร.บวรนันท์ นายกสมาคมฯ เผยผลสำรวจ HR Trend for The Next Normal 2021

PMAT ทำการสำรวจประเด็นด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรและผู้บริหารสูงสุดให้ความสำคัญ โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2563 - 20 มกราคม 2564

มีผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 1,485 คน จากกว่า 30 กลุ่มธุรกิจ โดยกลุ่มธุรกิจที่ตอบเข้ามามากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ กลุ่มการศึกษา (Education) คิดเป็น 8.89 % กลุ่มยานยนต์ (Automotive) คิดเป็น 8.75 % และกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม(Food & Beverage) คิดเป็น 8.55 % ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คิดเป็น 45.53% อยู่ในกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก มีจำนวนพนักงาน 101-1,000 คน
โดย 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจคือ CEO และ เจ้าของธุรกิจ และ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร คิดเป็น 26.20 % ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด อีก 73.80 % ประกอบด้วย พนักงาน HR ทุกกลุ่มงาน คิดเป็น 25.52 % ผู้บริหารระดับกลาง คิดเป็น 21.68 % และ Head of HR/ HR Manager คิดเป็น 21.08 %

ผลสำรวจที่น่าสนใจพบว่า จากสถานการณ์ COVID 19 ทำให้หลายองค์กรมีแนวทางหรือนโยบายให้พนักงานWork From Home (WFH)โดย องค์กรจำนวน 1 ใน 4 มีนโยบายให้พนักงาน 50-70 % ของจำนวนพนักงานทั้งหมดทำงานในรูปแบบ WFH ส่วนองค์กรที่มีนโยบายให้ WFH มากกว่า 70% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด คิดเป็น 12.26 % และมีจำนวน 15.76 % ไม่มีนโยบาย WFH ทั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์กรทุกขนาด ส่วนใหญ่เกิน 20% เลือกใช้นโยบายการทำงาน WFH โดยให้พนักงานร้อยละ 50-70% ทำงานอยู่บ้าน เป็นการทำตามแนวทาง Social Distancing


10 ประเด็นสำคัญ ด้านการบริหาร “คน” ที่องค์กรและผู้บริหารสูงสุดให้ความสนใจ


ประเด็นที่องค์กรหรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ปี 2021 ( 10 อันดับแรก) และ ทัศนะของนายก PMAT เพื่อการบรรลุเป้าหมายรายประเด็น

อันดับ 1 การพัฒนาทักษะของพนักงานทั้ง Reskill-Upskill และNew Skill เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กร 70.27%

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
เน้นสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเป็น Active Learner กระตือรือร้นในการเรียนรู้ตระหนักรู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร และ แสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง รวมถึงนำ Learning Technology อาทิเทคโนโลยี AR และ VR มาใช้ นำ Gamification มาประยุกต์เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผสมผสานความสนุกและควรมี Learning Management System เพื่อการประเมินประสิทธิภาพการเรียนรู้รายบุคคล

อันดับ 2 การพัฒนาความสามารถของผู้นำทุกระดับขององค์กร(Leadership at All Level) เพื่อสร้างความพร้อมและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง 59.87%

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
เบื้องต้นคำถามสำคัญที่องค์กรต้องตอบให้ได้ คือ องค์กรของท่านมีผู้นำที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขององค์กรกี่ % ปัจจุบันองค์กรต้องการ Transformative Leadership
นำการเปลี่ยนแปลง องค์กรต้องสร้างผู้นำที่สามารถ พัฒนาความสามารถคน สร้างศักยภาพคนทำงาน และทีมงานให้ได้

อันดับ 3 การสร้างความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของพนักงาน (Change Readiness) ต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กร 56.43%

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
การสร้าง Mind set เพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างเข้าใจ เกี่ยวกับ “การเปลี่ยนแปลง”เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำ การสนับสนุนจาก Top Management และ ความร่วมมือ จาก Key Influences ขององค์กร รวมถึง การสื่อสารเหตุผลความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงขององค์กรและเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มที่จะสำเร็จ ส่วน Change Management Tactics ที่ควรศึกษาเพื่อนำมาใช้ อาทิ ปรับ Job Role ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง การปรับรูปแบบการประเมินผล (Performance Support Tools) การสื่อสารบนลงล่าง (Cascading Communication) สร้างหน่วยงานต้นแบบ ประชุมแบ่งบันความรู้ (Brown Bag Meeting) การให้รางวัลและการยกย่อง การใช้ Network จาก Influence และ การทำ Team Building

อันดับ 4 การปรับโครงสร้างองค์กร (Organization Structure Redesign)ให้เกิดความคล่องตัว 55.56 %

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
ทำความเข้าใจกลยุทธ์ใหม่ขององค์กร และ กำหนดกลุ่มงานที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จขององค์กร โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าความสามารถใดที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมาย และ ขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กร จากนั้นประเมินความพร้อมของพนักงานในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบว่า ความสามารถด้านใดที่เป็นช่องว่างในการออกแบบโครงสร้างองค์กร เพื่อปิดช่องว่าง สามารถดำเนินการ ฝึกอบรมหรือการทำงานข้ามสายงาน และอีกประเด็นที่ขาดไม่ได้คือ การกำหนดกระบวนการและวัฒนธรรมในการทำงานโดยระบุให้ชัดเจนวัฒนธรรมการทำงานแบบใดที่จะช่วยให้กลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นใหม่ทำงานได้

อันดับ 5 การพัฒนาทักษะด้าน Digital และการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานของพนักงาน 51.25 %

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
เคล็ดลับในการกระตุ้นการเรียนรู้ และ พัฒนาทักษะ Digital ของทีมงาน ทำได้โดย การสร้างกลุ่มย่อยเพื่อสนทนกันเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดี จัดให้มีกิจกรรมรายเดือน พูดคุยความคืบหน้า เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ Digital จัดให้มีการถ่ายทอดความรู้ภายใน เช่นการมอบหมายความรับผิดชอบในการสอน ให้คำแนะนำแก่หัวหน้าทีม รวมถึง จัดการแข่งขันการพัฒนาทักษะแบบเป็นมิตร เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้อีกทางหนึ่ง


อันดับ 6 การใช้กำลังพลอย่างมีเหตุผล (Workforce Rationalization) ใช้กำลังพลน้อย (Lean Manpower)การควบคุมต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) 46.26%

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
แม้ว่าองค์กรหลายแห่งจะเผชิญกับปัจจัยลบ แต่มักจะเลือกรักษากำลังคนไว้อย่างสุดความสามารถ อย่างไรก็ตามในสถานการณ์เช่นนี้องค์กรต้องเรียนรู้กลยุทธ์การลดต้นทุนแรงงาน อาทิ หยุดการจ้างงาน (Hiring Freeze หรือ การลาออกไม่รับทดแทน) รวมถึง การปรับโครงสร้างการทำงาน หยุดการขึ้นค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ (Freeze Salary and Benefit) ยกลิกกลุ่มสัญญาจ้างและกลุ่มชั่วคราว (Contract and Temporary Employee) จัดให้มีโครงการเกษียณก่อนกำหนด / ลาออกโดยสมัครใจ (incentivize Employees to leave) รวมไปถึงการ ลดชั่วโมงการทำงาน (Reduce Work hours) แม้แต่การลดคำจ้าง & สิทธิประโยชน์ (Reduce Pay Rates & firings Benefits) กำหนดช่วงเวลาที่พนักงานลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (Schedule Unpaid Employee Furloughs)


อันดับ 7 การพัฒนาความสามารถของพนักงานในทุกระดับขององค์กร (Competency Development at All Level) 41.55%

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
ต้องเร่งทบทวน / กำหนด Functional Competency / Job Competency ที่ช่วยให้องค์กรสำเร็จและต้องแสวงหาแนวทางในการประเมินความสามารกพนักงานทุกคนในองค์กร (Competency Assessment เพื่อให้สามารถเห็นภาพ Manpower Landscape ในปัจจุบันขององค์กร ในขณะเดียวกันต้องสื่อสารและกระตุ้นให้พนักงานเกิดเป้าหมายการเรียนรู้ โดยสามารถใช้เครื่องมือ อาทิ Learning Handbook / IDP สร้างและแนะนำให้พนักงานเห็นโอกาสในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามรถตนเอง โดยใช้ Learning Platform / E-learning / YouTube / Podcast เข้ามาช่วย และเชื่อมโยงการเรียนรู้ของพนักงาน / ทีมงานกับเป้าหมายสำคัญขององค์กร ทำ ได้โดยใช้ Design Thinking ผ่านโครงการ Hackathon / การเรียนรู้ของทีมผ่าน OKR

อันดับ 8 การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงานขององค์กร(Culture Change) เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์กร 41.35 %

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
แนะนำให้อ่านหนังสือ Who Killed Change?: Solving the Mystery of Leading People through Change เขียนโดย by Ken Blanchard, John Britt, Judd Hoekstra & Pat Zigarmi หนังสือที่ว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงในแง่มุมต่าง ๆ และยังพูดถึงส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการรักษาประสิทธิผลขององค์กรอย่างยั่งยืนเมื่อสิ่งต่างๆไม่เหมือนเคย อีกต่อไป

อันดับ 9 การออกแบบงานใหม่ (Job Redesign) ให้สอดคล้องกับทิศทาง/ รูปแบบธุรกิจในอนาคตขององค์กร (New Business Model) 40.74 %

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
สามารถดำเนินการด้วยวิธีการ ดังนี้ 1) การทบทวนเนื้อหาของงาน (Revising the Job Content) เพื่อพิจารณาความไม่สอดคล้องกันของงานกับคนทำงาน 2) การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน (Analyzing the Job-Related Information)ดำเนินการวิเคราะห์งาน กำหนดผลคาดหวังของงาน พิจารณาประเด็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานที่ทำให้พนักงานไม่สามารถส่งมอบผลงาน / ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้ 3) การปรับเปลี่ยนองค์ประกองของงาน(Altering the Job Element) เพื่อให้ทำงาน ได้ผลลัพธ์มากขึ้นโดยการแก้ไของค์ประกอบของงาน ทำได้หลายวิธี เช่น ลดความรับผิดชอบ เพิ่มความรับผิดชอบให้สูงขึ้นหรือเพิ่มหน้าทีอื่น ๆ 4) การปรับเปลี่ยนแปลงลักษณะงานและข้อมูลจำเพาะของงาน (Reforming Job Description and Specification) 5) การจัดสรรงาน / หน้าที่ใหม่ (Reshuffling & Relocation)สื่อสาร สนับสนุนให้พนักงานแรงจูงใจในการทำงานในหน้าที่ใหม่

อันดับ 10 การเพิ่มผลิตของพนักงานในปัจจุบันให้สูงสุด (Productivity Through People) 30.71%

- แนวทางเพื่อการบรรลุเป้าหมาย -
การเพิ่มผลิตของพนักงานในปัจจุบันให้สูงสุด (Productivity Through People) 30.71%ข้อพิจารณาก่อนการเพิ่ม Productivity ของพนักงาน แนะนำให้ทำ Industry Benchmarking เปรียบเทียบกับองค์กรในธุรกิจประเภทเดียวกัน ประสิทธิภาพของกำลังพลเป็นอย่างไร โดยทำการวิเคราะห์ในประเด็น อาทิ Revenue per Headcount , Profit per Headcount , Production Output per Headcount , Revenue per FTE ,Profit per FTE , Total FTE per Support Function FTE สำหรับแนวการเพิ่ม Productivity ของพนักงาน สามารถนำเอาการหมุนเวียนงาน (Rotation) และ มีใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

อ่านผลสำรวจเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/36nspcy